วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศิล10


ศีล ๑๐ มีความหมายคือ สำหรับสามเณร แต่ผู้ใดศรัทธาจะรักษาก็ได้ หัวข้อเหมือนศีล ๘ แต่แยกข้อ ๗ เป็น ๒ ข้อ (= ๗-๘) เลื่อนข้อ ๘ เป็น ๙ และเติมข้อ ๑๐ คือ
๑. เว้นจากทำลายชีวิต ๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓. เว้นจากประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือเว้นจากร่วมประเวณี ๔. เว้นจากพูดเท็จ ๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือเที่ยงแล้วไป ๗. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ฯลฯ ๘. เว้นจากการทัดทรงดอกไม้ ฯลฯ ๙. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ ๑๐. เว้นจากการรับทองและเงิน
อาราธนาศีล 10 (ถ้าคนเดียวเปลี่ยนจากคำว่า "มะยัง" เป็น "อะหัง" และ "ยาจามะ" เป็น "ยาจามิ")
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ ทะสะ สีลานิ ยาจามะ (ว่า 3 ครั้ง)
ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอสมาทานศีล 8 พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ เพื่อประโยชน์แห่งการรักษา เป็นข้อ ๆ

คำสมาทาน ว่า ปาณาติปาตา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า)
อทินนาทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลัก ,ฉ้อ ของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช่ให้ผู้อื่นลัก ฉ้อ)
อพฺรหฺมจริยา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากอสัทธรรม กรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์)
มุสาวาทา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ คำไม่เป็นจริง และคำล่อลวง อำพรางผู้อื่น)
สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย เครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่าง ๆ )
วิกาลโภชนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล)
นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนา มาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากพูด ฟัง ฟ้อนรำ ขับรอ้งและประโคมเครื่องดนตรีต่าง ๆ และดูการเล่นที่เป็นข้าศึกแก่กุศล)
มาลาคนฺธวิเลปน ธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการทัดทรงดอก การใช้ของหอมเครื่องประทินผิว)
อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากนั่ง นอน เหนือเตียง ตั่ง มีเท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่ ภายในใส่นุ่นและสำลี อาสนะอันวิจิตรไปด้วยลดลายงามด้วยเงินทองต่าง ๆ) ชาตรูปรชตปฏิคฺคหณา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการรับเงินทอง)
อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (ว่า 3 ครั้ง)

วันพุธที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553


( คำสมาทาน ศีล ๕ )
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ ( เว้นจากการฆ่าสัตว์ , ไม่ทำให้พ่อแม่เป็นทุกข์กาย ทุกข์ใจ ( ตายทั้งเป็น ) , ไม่ทำให้ผู้อื่นเกิดความทุกข์กายทุกข์ใจ เหมือนตกนรกทั้งเป็น )
๒. อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ ( เว้นจากการลักทรัพย์ ,ไม่ขโมยเวลา เข้างานสายกลับก่อน , ไม่เขียนเบิกสิ่งของ หรือ เงินทอง เกินความเป็นจริง , ไม่เอาของที่ทำงานกลับบ้านใช้ )
๓. กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ ( เว้นจากการประพฤติผิดในกาม , มีชู้ , มีกิ๊ก ตอนแต่งงานพ่อแม่ทั้ง ฝ่ายหญิงและชาย จะต้องเห็นดีด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายถึงเรียกว่าไม่ผิดศีล )
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิ ( เว้นจากการพูดปด / พูดใส่ร้าย / คำพูดล่อลวงอำพรางผู้อื่น )
๕. สุราเมระยะมัจฉะปะมาทะถานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ( เว้นจากการดื่มสุราเมรัยเครื่องดองของเมาที่ทำให้ใจคลั่งไคล้มัวเมาต่าง ๆ จนทำให้มัวเมาตัวเอง , มัวเมา อำนาจ , ลาภยศ , เงินทอง และอบายมุข )

อาราธนาศีล 5


** คำบูชาพระ **
อิมินา สักกาเรนะ ตัง พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ตัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ
** คำนมัสการพระรัตนตรัย **
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อภิวาเทมิ (กราบ)
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
** คำนมัสการพระพุทธเจ้า **
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ( สวด ๓ จบ )
คำอาราธนาศีล ๕
มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะศีลานิยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะศีลานิยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะสะหะ ปัญจะศีลานิยาจามะ

ข้อห้ามศีลทั้ง 5 ข้อนั้น ถ้าวันนี้เราทำได้เพียง 2 , 3 ,4 ข้อก็ไม่เป็นไร เพราะเราได้สวดคำว่า วิสุง วิสุง ซึ่งแปลว่า ข้อใดข้อหนึ่ง
คำนมัสการไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บูชาพระรัตนตรัยและแปล



บูชาพระรัตนตรัย
โย โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ,
สวากขาโต เยนะ ภะคะวะตา ธัมโม,
สุปะฏิปันโน ยัสสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
ตัมมะยัง ภะคะวันตัง สะธัมมัง สะสังฆัง,
อิเมหิ สักกาเรหิ ยะถาระหัง อาโรปิเตหิ อะภิปูชะยามะ,
สาธุ โน ภันเต ภะคะวา สุจิระปะรินิพพุโตปิ,
ปัจฉิมา ชะนะตานุกัมปะมานะสา,
อิเม สักกาเรทุคคะตะ ปันนาการะภูเต
ปฏิคัณหาตุ, อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ,
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ, (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิ, (กราบ)
สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆะ, สังฆัง นะมามิ, (กราบ)
มาตาปิตุคุณัง อะหัง วันทามิ, (กราบ)
ครูอุปัชฌาย์ อาจาริยะ คุณัง อะหังวันทามิ.(กราบ)
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พระองค์ใด, เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบแล้ว, พระธรรมคือ ศาสนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น พระองค์ใด, ตรัสไว้ดีแล้ว, พระสงฆ์คือ ผู้ทรงธรรมวินัย,
ซึ่งเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด, เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว,
ข้าพเจ้าขอบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า, พร้อมทั้ง
พระสัทธรรมและพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลาย, ด้วยเครื่องสักการะ
เหล่านี้, ข้าพเจ้าได้ยกขึ้นประดิษฐานไว้ดีแล้วในที่อันสมควร
อย่างยิ่งเช่นนี้, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
แม้ปรินิพพานนานแล้วก็ตาม, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ,
ซึ่งยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่ แด่สาธุชนทั้งหลาย,
ขอจงรับเครื่องสักการะบรรณาการ, ของคนยากทั้งหลายเหล่านี้ด้วย,
เพื่ออนุเคราะห์แด่ชุมชนผู้เกิดแล้วในภายหลังด้วย เพื่อเป็นประโยชน์
เพื่อความสุขแด่ข้าพเจ้าทั้งหลาย, สิ้นกาลนานเทอญ,
พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง,
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า,
ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน, พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ดีแล้ว, ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว,
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์,
ข้าพเจ้ากราบวันทา บิดา มารดาผู้มีพระคุณ โดยความเคารพ,
ข้าพเจ้ากราบวันทา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ผู้มีพระคุณ
โดยความเคารพ.


บทสวดมนต์


บทบูชาพระรัตนตรัย
- บาลี อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควาพุทฺธํฺ ภควนฺตํ อภิวาเทมิสฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโมธมฺมํ นมสฺสามิสุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆสงฺฆํ นมามิ - อ่าน อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวาพุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ)สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆสังฆัง นะมามิ (กราบ) - แปล สมเด็จพระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันต์หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองข้าพเจ้าขออภิวาทพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค:พระพธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้วข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรม:พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคปฏิบัติดีแล้วข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์